วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์



บทที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงงาน




cr:https://www.goodfreephotos.com/vector-images/code-and-stuff-on-a-computer-screen-vector-clipart.png.php


โครงงานคอมพิวเตอร์
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

cr : http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html



โครงงานคอมพิวเตอร์ from faitrk22

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ 



ตัวอย่างโครงงานคอม from ปยล วชย.



เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ☺
  

cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443


cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443

ดนตรี MUSIC ♥ 


“ดนตรี” ตรงกับคำว่า “music” ในภาษาอังกฤษ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า ชาติกรีกเป็นชาติแรกที่นำคำนี้มาใช้ รูปคำเดิมของกรีก ได้มาจากคำว่า Muses หมายถึงเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ของชาวกรีก ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความกลมกลืน ความสอดคล้อง ความเหมาะเจาะ และความงดงามทุกอย่าง ไม่เฉพาะแต่การเล่นเครื่องดนตรี การขับร้องและการลีลาศเท่านั้น แต่รวมไปถึงด้านอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะบทกวีและศิลปะการแสดง ด้านวรรณคดี ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ด้วย ปัจจุบันคำว่า music ได้แพร่หลายออกไปเกือบทุกภาษา แต่มีการนำไปปรับเปลี่ยนการเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาของตน เช่น ในภาษาฝรั่งเศส ตรงกับคำว่า musique ในภาษาเยอรมัน ตรงกับคำว่า musik ในภาษาอิตาลี ตรงกับคำว่า musica และภาษาอื่นๆอีก

ความสำคัญและคุณค่าของดนตรี
 
  ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แรกเกิดทารกจะได้ยินเสียงเห่กล่อมจากมารดา หรือฟังเสียงเพลงเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาดนตรีก็ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เจริญงอกงามครบทุกด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา เมื่อชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ดนตรีก็จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการทำงาน ในรูปแบบต่างๆ กันออกไป จนสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีดนตรีเพื่อใช้สำหรับงานศพ จะเห็นได้ว่าดนตรีนั้นมีความผูกพันต่อมนุษย์อย่างลึกซึ้ง จึงทำให้มีการศึกษาทดลอง เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของดนตรีจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ดนตรีจึงเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาการที่มีคุณค่าสำหรับมนุษย์ทุกคน
 
อิทธิพลของเสียงดนตรี  
เสียงดนตรีมีอิทธิพลทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจของมนุษย์ คุณสมบัติของเสียงดนตรีที่เกิดจากองค์ประกอบดนตรีแต่ละด้าน ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ฟังแต่ละคนแตกต่างกันออกไป
• ทำนองเพลง (Melody) ผลของท่วงทำนองสามารถทำให้เกิดสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร ความเป็นพวกเดียวกัน ลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจรู้สึกสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหรือตึงเครียด และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะทำนองเพลงนั้นๆ ด้วย
• ลีลาจังหวะ (Rhythm) ลีลาจังหวะของดนตรีทุกชนิดมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาจังหวะของทำนองเพลง ลีลาจังหวะของเสียงประกอบทำนอง หรือลีลาจังหวะของจังหวะพื้นฐานที่บรรเลงประกอบบทเพลง ลีลาจังหวะจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก กล้าทำ กล้าแสดงออก มีการตอบโต้เคลื่อนไหวร่างกายไปตามลีลาจังหวะโดยอัตโนมัติ ลีลาจังหวะของดนตรีที่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น มั่งคง ลีลาจังหวะสงบราบเรียบสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ ปลอดภัย และสงบ ลีลาจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความฉงนหรือความสนุก
• ความดังหรือความเข้มของเสียง (Volume or Intensity) ความดัง หรือความเข้มของเสียง สามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียง แสดงอาการโต้ตอบกลับได้หลายลักษณะ เช่น อาการสงบนิ่ง จะทำให้เกิดสมาธิ กระตุ้นความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจให้สงบ หรืออาการตื่นตัว เพื่อสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสม
• ความเร็วจังหวะ (Tempo) จังหวะที่เร็วจะเร้าความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ไม่สงบ จังหวะที่ช้ามีผลทำให้สงบ ทั้งนี้ให้ถือว่าจังหวะปกติในการตอบรับของร่างกายคนธรรมดาอยู่ระหว่าง 60-80 เคาะต่อนาที (เทียบได้เท่ากับการเต้นของหัวใจหรือการเดินตามปกติ) ถ้าเคาะจังหวะมีอัตราที่เร็วกว่าการเต้นของหัวใจถือว่าเร็ว ถ้าเคาะจังหวะช้ากว่าการเต้นของหัวใจถือว่าช้า เครื่องมือที่ใช้กำหนดความเร็วทางดนตรี มีชื่อเรียกว่า เมโตรนอม มิเตอร์ (metronome meter) ในวงดนตรีขนาดใหญ่ ผู้อำนวยเพลงหรือวาทยกร (conductor) จะทำหน้าที่ควบคุมความเร็วจังหวะของบทเพลง ให้อยู่ในอัตราที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้ อย่างถูกต้อง
• เสียงประสาน (Harmony) คุณภาพของเสียงที่เกิดจากการประสานกันของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทเพลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องของมนุษย์ เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ มีทั้งกลมกลืนที่สุด กลมกลืนมาก กลมกลืนน้อย ความไม่กลมกลืน หรือความกระด้างของเสียง มีทั้งกระด้างมากที่สุด กระด้างมาก และกระด้างน้อย คุณภาพของเสียงประสานต่างๆ เหล่านั้นย่อมมีผลที่จะไปกระตุ้นความรู้สึกของมนุษย์ให้เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น เช่น อ่อนหวาน รัก เศร้า สนุกสนาน หวาดกลัว ตื่นเต้น รุกเร้าใจ เป็นต้น

  ประโยชน์ของเสียงดนตรี
เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ โดยมนุษย์จะทำการโต้ตอบกลับต่อเสียงที่ได้ยินในหลายลักษณะต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำเอาอิทธิพลของเสียงมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น มีทั้งทางด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านการกีฬา ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ
•ด้านการศึกษา มีการนำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะ ผลปรากฏว่า เสียงดนตรีสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิด จินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และคลายความตึงเครียด มีการทดลองให้นักศึกษาทำข้อสอบที่มีเสียงดนตรีกับไม่มีเสียงดนตรีประกอบ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ไม่มีเสียงดนตรีดนตรีทำคะแนนได้น้อยกว่ากลุ่มที่มีเสียงดนตรี และยังพบอีกว่ากลุ่มที่ใช้เพลงร็อค จะทำคะแนนได้น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้เพลงคลาสสิกและแจ๊ส
•ด้านการแพทย์ ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลงทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายในทางที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยดีขึ้น การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยใช้เสียงดนตรีประกอบ ผลของการทำงานดีขึ้นกว่าไม่ได้ใช้เสียงดนตรีประกอบ ใช้เสียงดนตรีลดหรือบรรเทาความทุกทรมานจากการเจ็บปวดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรกหลังกาผ่าตัด และยังช่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
•ด้านสังคม มีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดให้มนุษย์ทำงานให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่น จังหวะยกของส่งของ ใช้เสียงดนตรีในการปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก สามัคคี รักหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์ ใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักดิ์สิทธิ์ น่าเชื่อถือ เคร่งขรึม ใช้เสียงดนตรีเพื่อสื่ออารมณ์ ความรู้สึก ที่ร่าเริงเบิกบาน สดชื่นแจ่มใส แสดงความยินดี เช่นงานวันเกิด งานเลี้ยงฉลอง งานมงคลต่างๆ
• ด้านจิตวิทยา ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กจะทำให้เด็กมีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น ถ้าให้ฟังเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองที่เหมาะสมบ่อยๆ ครั้ง
• ด้านการกีฬา ใช้เสียงเพลงประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติก กิจกรรมเข้าจังหวะ การบริหารร่างกายประกอบเสียงดนตรีหรือการเต้นแอร์โรบิก(Aerobic Dance)
 

 
เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ♥
 


cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443
                เสียง(Sound) มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สมอง ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมของสังคม วิถีชีวิต จากทฤษฎีของเสียงที่พิสูจน์ได้ว่าเสียงมีอำนาจ มีอำนาจอยู่ที่ไหน ก็จะมีเสียงอยู่ที่นั่น มีเสียงอยู่ที่ไหนอำนาจก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ดังนั้น พิธีกรรมของมนุษย์ทุก ๆ พิธีกรรมจึงประกอบด้วยเสียง (ดนตรี) ตั้งแต่เสียงสวดมนต์ภาวนาเสียงตีเกราะเคาะไม้ เสียงดีดสีตีเป่า แม้แต่เสียงจุดประทัด ในเทศกาลตรุษจีน หรือจุดประทัดของชาวเรือประมง ที่จะออกทะเลเพื่อหาปลา เสียงปืนใหญ่ยิงเพื่อยกย่องในงานศพของวีรบุรุษ เสียงกลองยาว แตรวงงานบวช
ซึ่งล้วนเป็นเสียงแสดงถึงอำนาจและเป็นหุ้นส่วนของพิธีกรรมทั้งสิ้น
                จากทฤษฎีของเสียงมีอำนาจ อำนาจของเสียงสร้างเป็นพลังงานที่เปลี่ยนจากเสียงสร้างให้เกิดความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนา เมื่อมีการพัฒนามาก ๆ
ก็จะสร้างให้เกิดความเจริญ ยิ่งพัฒนามากก็ยิ่งเจริญมากขึ้นด้วยทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์ต้องการความเจริญ ความเจริญเป็นความหวังเป็นความปรารถนาของชีวิต และความเจริญเป็นความมีชีวิตชีวา
                เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อร่างกาย เมื่อร่างกายสัมผัสต่อเสียงดนตรี จังหวะดนตรีมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวขยับตามจังหวะ เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นปัจจุบัน ทำให้นึกถึงอดีต และทำให้นึกถึงอนาคต  ดนตรีทำให้อารมณ์เปลี่ยนไปตามมิติของของกาล อาจจะเป็นอารมณ์ที่หวนรำลึกถึงอดีต อาจจะเป็นการสร้างอารมณ์ปัจจุบันและอาจจะสร้างให้เกิดจินตนาการได้
                เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ “เสียงใส ใจสะอาด” เป็นอิทธิพลที่เกี่ยวกับเสียงโดยตรง เนื่องจากเสียงออกมาจากจิตใจ เมื่อใจรู้สึกเป็นอย่างไรก็จะถ่ายทอดเป็นเสียงออกมาเป็นอย่างนั้น ในขณะเดียวกันเสียงที่ออกมาจากจิตใจ ความสุขและความทุกข์ ได้อาศัยเสียงระบายออกมาภายนอกซึ่งทำให้จิตใจผ่อนคลายลงได้ โดยธรรมชาติ ดนตรีจึงเป็นหุ้นส่วนของชีวิตและจิตใจ
                เสียงดนตรีทำให้สมองรับรู้ เส้นประสาทสมองขยายตัวเมื่อสัมผัสกับเสียงดนตรีที่ดี ทำให้สมองตื่นตัวกับเสียง
ที่ได้ยิน เสียงดนตรีบ่งบอกประวัติศาสตร์ บ่งบอกความเป็นมา บ่งบอกประเพณี บ่งบอกวัฒนธรรมของสังคมและบ่งบอกวิถีชีวิตของคนในแต่ละสังคมนั้น ๆ
                เสียงดนตรี(Music) เป็นเสียงที่ไพเราะเป็นเสียงที่ละเอียดสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจด้วยการประดิษฐ์เสียงอย่างประณีตและบรรจง มนุษย์สร้างเสียงขึ้นเพื่อให้มนุษย์ด้วยกันฟัง มนุษย์เป็นผู้สร้างมาตรฐานของความไพเราะ โดยอาศัยความรู้สึกที่ดีเอาเสียงที่ไพเราะงดงาม นำแต่ละเสียงมาเรียงร้อยให้ปะติดปะต่อกันจนกลายเป็นบทเพลงที่ไพเราะ ดนตรีเป็นศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ตามความปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งดนตรีอาจจะรับใช้ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม หรือดนตรีอยู่ในฐานะของความบันเทิง
                เสียงหยาบ(Noise) เป็นเสียงรบกวนและเป็นเสียงที่มนุษย์ไม่ปรารถนา การแยกแยะระหว่างเสียงที่ชอบและเสียงที่ไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับอำนาจว่ามีสิทธิ์ที่จะชอบหรือมีสิทธิ์ที่จะไม่ชอบเพราะความชอบและความไม่ชอบขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตและรสนิยม อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นเสียงที่หยาบ  (ดัง แรง กระด้าง ) แต่เสียงก็เป็นจุดศูนย์รวมของอำนาจด้วยเหมือนกัน
                มนุษย์จะเลือกเสียงที่อบอุ่นละมุนละไมเลือกเสียงที่กังวานเลือกเสียงที่ไพเราะ เลือกเสียงที่ชอบมากกว่าที่จะเลือกเสียงกระด้าง ดังนั้นเสียงที่ไพเราะหรือจะเรียกว่าเสียงดนตรี จึงมีอำนาจมากกว่าเสียงรบกวน
บรรณานุกรม

สุกรี เจริญสุข. ดนตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมอง.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พุทธมณฑล ศาลายา นครปฐม พ.ศ.2550 : 62-63
 cr:http://www.kroobannok.com/blog/8762


 

cr: https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=3561480