วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 1


{ ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ }
โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนมีอิสระทางความคิดทางการศึกษาปัญหาและสิ่งต่างๆ ที่ตนเองในใจ โดยนักเรียนต้องมีการวางแผนการศึกษาและนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถท าโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และท าให้เกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมถึงการฝึกความกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงานของตน

https://sites.google.com/a/sw101.ac.th/krujumka/hnwy-kar-reiyn-ru13

{ ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ }
1. ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้
คำแนะนำ
ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1.ความสามารถในการสื่อสาร
เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
http://www.nrw.ac.th/krumod/e-learning/Unit1-1-2.html


http://www.weheartit.com/entry/153985407/in-set/98463863-text-computer?context_user=soshieing&page=18


{ ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์ }
1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย
https://www.gotoknow.org/posts/314100




http://www.weheartit.com/entry/187550170/in-set/98463863-text-computer?context_user=soshieing&page=8


VIDE0

https://www.youtube.com/watch?v=DjONgZ3BxXs

https://www.youtube.com/watch?v=aq3-Fdti6Bg




วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์



บทที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงงาน




cr:https://www.goodfreephotos.com/vector-images/code-and-stuff-on-a-computer-screen-vector-clipart.png.php


โครงงานคอมพิวเตอร์
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

cr : http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html



โครงงานคอมพิวเตอร์ from faitrk22

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ 



ตัวอย่างโครงงานคอม from ปยล วชย.



เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ☺
  

cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443


cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443

ดนตรี MUSIC ♥ 


“ดนตรี” ตรงกับคำว่า “music” ในภาษาอังกฤษ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า ชาติกรีกเป็นชาติแรกที่นำคำนี้มาใช้ รูปคำเดิมของกรีก ได้มาจากคำว่า Muses หมายถึงเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ของชาวกรีก ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความกลมกลืน ความสอดคล้อง ความเหมาะเจาะ และความงดงามทุกอย่าง ไม่เฉพาะแต่การเล่นเครื่องดนตรี การขับร้องและการลีลาศเท่านั้น แต่รวมไปถึงด้านอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะบทกวีและศิลปะการแสดง ด้านวรรณคดี ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ด้วย ปัจจุบันคำว่า music ได้แพร่หลายออกไปเกือบทุกภาษา แต่มีการนำไปปรับเปลี่ยนการเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาของตน เช่น ในภาษาฝรั่งเศส ตรงกับคำว่า musique ในภาษาเยอรมัน ตรงกับคำว่า musik ในภาษาอิตาลี ตรงกับคำว่า musica และภาษาอื่นๆอีก

ความสำคัญและคุณค่าของดนตรี
 
  ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แรกเกิดทารกจะได้ยินเสียงเห่กล่อมจากมารดา หรือฟังเสียงเพลงเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาดนตรีก็ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เจริญงอกงามครบทุกด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา เมื่อชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ดนตรีก็จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการทำงาน ในรูปแบบต่างๆ กันออกไป จนสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีดนตรีเพื่อใช้สำหรับงานศพ จะเห็นได้ว่าดนตรีนั้นมีความผูกพันต่อมนุษย์อย่างลึกซึ้ง จึงทำให้มีการศึกษาทดลอง เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของดนตรีจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ดนตรีจึงเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาการที่มีคุณค่าสำหรับมนุษย์ทุกคน
 
อิทธิพลของเสียงดนตรี  
เสียงดนตรีมีอิทธิพลทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจของมนุษย์ คุณสมบัติของเสียงดนตรีที่เกิดจากองค์ประกอบดนตรีแต่ละด้าน ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ฟังแต่ละคนแตกต่างกันออกไป
• ทำนองเพลง (Melody) ผลของท่วงทำนองสามารถทำให้เกิดสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร ความเป็นพวกเดียวกัน ลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจรู้สึกสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหรือตึงเครียด และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะทำนองเพลงนั้นๆ ด้วย
• ลีลาจังหวะ (Rhythm) ลีลาจังหวะของดนตรีทุกชนิดมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาจังหวะของทำนองเพลง ลีลาจังหวะของเสียงประกอบทำนอง หรือลีลาจังหวะของจังหวะพื้นฐานที่บรรเลงประกอบบทเพลง ลีลาจังหวะจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก กล้าทำ กล้าแสดงออก มีการตอบโต้เคลื่อนไหวร่างกายไปตามลีลาจังหวะโดยอัตโนมัติ ลีลาจังหวะของดนตรีที่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น มั่งคง ลีลาจังหวะสงบราบเรียบสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ ปลอดภัย และสงบ ลีลาจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความฉงนหรือความสนุก
• ความดังหรือความเข้มของเสียง (Volume or Intensity) ความดัง หรือความเข้มของเสียง สามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียง แสดงอาการโต้ตอบกลับได้หลายลักษณะ เช่น อาการสงบนิ่ง จะทำให้เกิดสมาธิ กระตุ้นความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจให้สงบ หรืออาการตื่นตัว เพื่อสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสม
• ความเร็วจังหวะ (Tempo) จังหวะที่เร็วจะเร้าความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ไม่สงบ จังหวะที่ช้ามีผลทำให้สงบ ทั้งนี้ให้ถือว่าจังหวะปกติในการตอบรับของร่างกายคนธรรมดาอยู่ระหว่าง 60-80 เคาะต่อนาที (เทียบได้เท่ากับการเต้นของหัวใจหรือการเดินตามปกติ) ถ้าเคาะจังหวะมีอัตราที่เร็วกว่าการเต้นของหัวใจถือว่าเร็ว ถ้าเคาะจังหวะช้ากว่าการเต้นของหัวใจถือว่าช้า เครื่องมือที่ใช้กำหนดความเร็วทางดนตรี มีชื่อเรียกว่า เมโตรนอม มิเตอร์ (metronome meter) ในวงดนตรีขนาดใหญ่ ผู้อำนวยเพลงหรือวาทยกร (conductor) จะทำหน้าที่ควบคุมความเร็วจังหวะของบทเพลง ให้อยู่ในอัตราที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้ อย่างถูกต้อง
• เสียงประสาน (Harmony) คุณภาพของเสียงที่เกิดจากการประสานกันของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทเพลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องของมนุษย์ เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ มีทั้งกลมกลืนที่สุด กลมกลืนมาก กลมกลืนน้อย ความไม่กลมกลืน หรือความกระด้างของเสียง มีทั้งกระด้างมากที่สุด กระด้างมาก และกระด้างน้อย คุณภาพของเสียงประสานต่างๆ เหล่านั้นย่อมมีผลที่จะไปกระตุ้นความรู้สึกของมนุษย์ให้เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น เช่น อ่อนหวาน รัก เศร้า สนุกสนาน หวาดกลัว ตื่นเต้น รุกเร้าใจ เป็นต้น

  ประโยชน์ของเสียงดนตรี
เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ โดยมนุษย์จะทำการโต้ตอบกลับต่อเสียงที่ได้ยินในหลายลักษณะต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำเอาอิทธิพลของเสียงมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น มีทั้งทางด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านการกีฬา ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ
•ด้านการศึกษา มีการนำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะ ผลปรากฏว่า เสียงดนตรีสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิด จินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และคลายความตึงเครียด มีการทดลองให้นักศึกษาทำข้อสอบที่มีเสียงดนตรีกับไม่มีเสียงดนตรีประกอบ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ไม่มีเสียงดนตรีดนตรีทำคะแนนได้น้อยกว่ากลุ่มที่มีเสียงดนตรี และยังพบอีกว่ากลุ่มที่ใช้เพลงร็อค จะทำคะแนนได้น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้เพลงคลาสสิกและแจ๊ส
•ด้านการแพทย์ ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลงทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายในทางที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยดีขึ้น การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยใช้เสียงดนตรีประกอบ ผลของการทำงานดีขึ้นกว่าไม่ได้ใช้เสียงดนตรีประกอบ ใช้เสียงดนตรีลดหรือบรรเทาความทุกทรมานจากการเจ็บปวดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรกหลังกาผ่าตัด และยังช่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
•ด้านสังคม มีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดให้มนุษย์ทำงานให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่น จังหวะยกของส่งของ ใช้เสียงดนตรีในการปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก สามัคคี รักหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์ ใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักดิ์สิทธิ์ น่าเชื่อถือ เคร่งขรึม ใช้เสียงดนตรีเพื่อสื่ออารมณ์ ความรู้สึก ที่ร่าเริงเบิกบาน สดชื่นแจ่มใส แสดงความยินดี เช่นงานวันเกิด งานเลี้ยงฉลอง งานมงคลต่างๆ
• ด้านจิตวิทยา ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กจะทำให้เด็กมีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น ถ้าให้ฟังเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองที่เหมาะสมบ่อยๆ ครั้ง
• ด้านการกีฬา ใช้เสียงเพลงประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติก กิจกรรมเข้าจังหวะ การบริหารร่างกายประกอบเสียงดนตรีหรือการเต้นแอร์โรบิก(Aerobic Dance)
 

 
เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ♥
 


cr:https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1073443
                เสียง(Sound) มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สมอง ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมของสังคม วิถีชีวิต จากทฤษฎีของเสียงที่พิสูจน์ได้ว่าเสียงมีอำนาจ มีอำนาจอยู่ที่ไหน ก็จะมีเสียงอยู่ที่นั่น มีเสียงอยู่ที่ไหนอำนาจก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ดังนั้น พิธีกรรมของมนุษย์ทุก ๆ พิธีกรรมจึงประกอบด้วยเสียง (ดนตรี) ตั้งแต่เสียงสวดมนต์ภาวนาเสียงตีเกราะเคาะไม้ เสียงดีดสีตีเป่า แม้แต่เสียงจุดประทัด ในเทศกาลตรุษจีน หรือจุดประทัดของชาวเรือประมง ที่จะออกทะเลเพื่อหาปลา เสียงปืนใหญ่ยิงเพื่อยกย่องในงานศพของวีรบุรุษ เสียงกลองยาว แตรวงงานบวช
ซึ่งล้วนเป็นเสียงแสดงถึงอำนาจและเป็นหุ้นส่วนของพิธีกรรมทั้งสิ้น
                จากทฤษฎีของเสียงมีอำนาจ อำนาจของเสียงสร้างเป็นพลังงานที่เปลี่ยนจากเสียงสร้างให้เกิดความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนา เมื่อมีการพัฒนามาก ๆ
ก็จะสร้างให้เกิดความเจริญ ยิ่งพัฒนามากก็ยิ่งเจริญมากขึ้นด้วยทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์ต้องการความเจริญ ความเจริญเป็นความหวังเป็นความปรารถนาของชีวิต และความเจริญเป็นความมีชีวิตชีวา
                เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อร่างกาย เมื่อร่างกายสัมผัสต่อเสียงดนตรี จังหวะดนตรีมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวขยับตามจังหวะ เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นปัจจุบัน ทำให้นึกถึงอดีต และทำให้นึกถึงอนาคต  ดนตรีทำให้อารมณ์เปลี่ยนไปตามมิติของของกาล อาจจะเป็นอารมณ์ที่หวนรำลึกถึงอดีต อาจจะเป็นการสร้างอารมณ์ปัจจุบันและอาจจะสร้างให้เกิดจินตนาการได้
                เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ “เสียงใส ใจสะอาด” เป็นอิทธิพลที่เกี่ยวกับเสียงโดยตรง เนื่องจากเสียงออกมาจากจิตใจ เมื่อใจรู้สึกเป็นอย่างไรก็จะถ่ายทอดเป็นเสียงออกมาเป็นอย่างนั้น ในขณะเดียวกันเสียงที่ออกมาจากจิตใจ ความสุขและความทุกข์ ได้อาศัยเสียงระบายออกมาภายนอกซึ่งทำให้จิตใจผ่อนคลายลงได้ โดยธรรมชาติ ดนตรีจึงเป็นหุ้นส่วนของชีวิตและจิตใจ
                เสียงดนตรีทำให้สมองรับรู้ เส้นประสาทสมองขยายตัวเมื่อสัมผัสกับเสียงดนตรีที่ดี ทำให้สมองตื่นตัวกับเสียง
ที่ได้ยิน เสียงดนตรีบ่งบอกประวัติศาสตร์ บ่งบอกความเป็นมา บ่งบอกประเพณี บ่งบอกวัฒนธรรมของสังคมและบ่งบอกวิถีชีวิตของคนในแต่ละสังคมนั้น ๆ
                เสียงดนตรี(Music) เป็นเสียงที่ไพเราะเป็นเสียงที่ละเอียดสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจด้วยการประดิษฐ์เสียงอย่างประณีตและบรรจง มนุษย์สร้างเสียงขึ้นเพื่อให้มนุษย์ด้วยกันฟัง มนุษย์เป็นผู้สร้างมาตรฐานของความไพเราะ โดยอาศัยความรู้สึกที่ดีเอาเสียงที่ไพเราะงดงาม นำแต่ละเสียงมาเรียงร้อยให้ปะติดปะต่อกันจนกลายเป็นบทเพลงที่ไพเราะ ดนตรีเป็นศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ตามความปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งดนตรีอาจจะรับใช้ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม หรือดนตรีอยู่ในฐานะของความบันเทิง
                เสียงหยาบ(Noise) เป็นเสียงรบกวนและเป็นเสียงที่มนุษย์ไม่ปรารถนา การแยกแยะระหว่างเสียงที่ชอบและเสียงที่ไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับอำนาจว่ามีสิทธิ์ที่จะชอบหรือมีสิทธิ์ที่จะไม่ชอบเพราะความชอบและความไม่ชอบขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตและรสนิยม อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นเสียงที่หยาบ  (ดัง แรง กระด้าง ) แต่เสียงก็เป็นจุดศูนย์รวมของอำนาจด้วยเหมือนกัน
                มนุษย์จะเลือกเสียงที่อบอุ่นละมุนละไมเลือกเสียงที่กังวานเลือกเสียงที่ไพเราะ เลือกเสียงที่ชอบมากกว่าที่จะเลือกเสียงกระด้าง ดังนั้นเสียงที่ไพเราะหรือจะเรียกว่าเสียงดนตรี จึงมีอำนาจมากกว่าเสียงรบกวน
บรรณานุกรม

สุกรี เจริญสุข. ดนตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมอง.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พุทธมณฑล ศาลายา นครปฐม พ.ศ.2550 : 62-63
 cr:http://www.kroobannok.com/blog/8762


 

cr: https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=3561480


 







วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 4 คลังข้อสอบ


 คลังข้อสอบ 



 ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ  
ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)
ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)
ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)
ปี 2558 (สอบ ม.ค. 2558)

cr:http://p-dome.com/7-w-55-58/

 O-NET  
cr: http://forum.02dual.com/index.php?topic=1470.0

 GATเชื่อมโยง  

cr:http://p-dome.com/all-gat-by-ajklui/

VIDEO


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 











วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์



˖˙+พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์,(💘)+˙˖





ปี 2550 💖˙˖




╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳

ปี 2559 💖˙˖


╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳ ╳






   พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559   



.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?                  พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 นั่นเอง



  ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559   

 

  

เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 มีดังนี้

              การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับ ซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”


สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้



มาตรา 4


              “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถ บอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”



มาตรา 5


              กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่


1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน


2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ


3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน


4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ


5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว



              ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท


ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ สร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้น ด้วย


โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้าง ขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”


มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับ ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง


(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล


(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”


เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิ ทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้


(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้


(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา


(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์


  แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้   
              
             พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้ามา ทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือ ที่เรียกว่า Phishing แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคล อื่น หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ และส่งผลสร้างความกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างมาก
              ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่เผยแพร่เมื่อปี 2558 เคย เสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขียน มาตรา 14(1) ใหม่เป็น “ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนสำคัญที่เขียนเข้ามาใหม่ คือ การโพสต์ข้อมูลต้องมีเจตนาเพื่อ “ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับการ Phishing และการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ก็จะไม่ผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป 
              แต่ ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ครม. มีมติเห็นชอบล่าสุด เขียนมาตรา 14(1) ใหม่ว่า "ผู้ใด... โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน"
              ส่วน ที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างฉบับนี้ คือ กำหนดให้ชัดเจนว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" ซึ่งคำว่า โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความว่า "เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น" เห็นได้ว่า ผู้ร่างต้องการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นว่ามาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์ใช้เอาผิดการกระทำที่มุ่งต่อประโยชน์ทางทรัพย์สิน ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 14(1) จะต้องมีพฤติการณ์ที่จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต่างจากมาตรา 14(1) เดิม ซึ่งการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งก็เป็นความผิดได้
              อย่าง ไรก็ดี การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้ ยังเปิดช่องให้เกิดการตีความนำไปใช้ลงโทษกับการหมิ่นประมาทออนไลน์ได้อยู่ บ้าง โดยอาจมีผู้เข้าใจผิดตีความไปได้ว่า การโพสต์เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนทั่วไป สับสน เป็นเจตนา "โดยหลอกลวง" และยกเอามาตรา 14(1) มาใช้ดำเนินคดีกับการแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้จึงยังเปิดช่องให้กฎหมายถูกใช้อย่างผิดเจตนารมณ์ได้อยู่ ต่างจากร่างฉบับปี 2558 ที่เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุมชัดเจนกว่า
              ส่วน บทกำหนดโทษ ตามมาตรา 14(1) ของร่างล่าสุด แบ่งโทษออกเป็นสองระดับ โดยความผิดฐานนำเข้าข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ หากมีลักษณะจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปได้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และหากจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น มาตรา 14 วรรคสอง เขียนให้มีโทษน้องลง โดยให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท


  เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ "ความปลอดภัยสาธารณะ" "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"  
             
             จาก เดิมที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สองลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
              ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ เพิ่มข้อความขึ้นมาโดยเอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สี่ลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ 3) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 4) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
             "ความ ปลอดภัยสาธารณะ" และ "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างและเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยใช้เป็นเงื่อนไขกำหนดการ กระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษ ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน การนำคำที่มีความหมายกว้างมาบัญญัติเป็นข้อห้ามลักษณะนี้อาจเป็นการใช้ถ้อย คำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองความมั่นคงของระบบไซเบอร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายรวมของการผลักดันกฎหมายชุดความมั่นคงดิจิทัลทั้งระบบ จึงยังต้องรอดูร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ในชุดกฎหมายนี้ที่จะเผยแพร่ตามมาอีกด้วยว่า มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามของสองคำนี้ไว้หรือไม่
  แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน" ให้ทำตามแล้วพ้นผิด  
             
            ตาม มาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็น อย่าง เว็บบอร์ด หรือการคอมเม้นต์ท้ายข่าว และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่อาจจะยังไม่แน่ใจ ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
             ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
            “มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 14
             ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์
             ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ" 
              จุด ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมคือพฤติการณ์อันแสดงถึงเจตนาของผู้ให้บริการ ซึ่งกฎหมายเดิมเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" ส่วนตามร่างฉบับนี้ เอาผิดกับผู้ให้บริการที่ 1) ให้ความร่วมมือ 2) ยินยอม 3) รู้เห็นเป็นใจ
              การ "ให้ความร่วมมือ" หรือ "รู้เห็นเป็นใจ" อาจต้องชัดเจนว่าผู้ให้บริการมีเจตนากระทำความผิดร่วมกับผู้ที่โพสต์เนื้อหา ผิดกฎหมายเองด้วย แต่คำว่า "ยินยอม" ยังเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า กรณีใดผู้ให้บริการพบเห็นข้อความแล้วแต่มีเจตนาที่จะยินยอมให้อยู่ต่อไป หรือกรณีใดที่ผู้ให้บริการไม่ได้ยินยอมแต่ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตรวจ สอบไม่พบเนื้อหาผิดกฎหมาย หรือเนื่องจากความผิดพลาดส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ 
              สำหรับ “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” หรือระบบ Notice and Takedown นั้น เป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายเดิม ร่างฉบับนี้ยังไม่ได้เขียนไว้ว่าขั้นตอนการแจ้งเตือนจะเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ให้บริการจะต้องลบออกภายในเวลาเท่าใด และผู้ให้บริการมีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่ ร่างฉบับนี้เพียงกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จะตั้งขึ้นใหม่ เป็นผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดต่อไป จึงต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตอีกด้วยว่าจะสามารถสามารถ แก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
             เท่าที่ทราบ จากร่างในปัจจุบัน คือ ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ลบข้อความผิดกฎหมายออกภายในเวลาที่กำหนดยังคงต้องรับ ผิดในอัตราโทษเท่ากับผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อความ หากผู้ให้บริการจะพ้นผิดได้เป็นภาระของผู้ให้บริการที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาล เห็นว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว






  ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ "ขัดต่อศีลธรรม" ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด  
              
            ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ใช้กันอยู่ มาตรา 20 เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่นำไปขอหมายศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือการ "บล็อคเว็บ" ได้ ต้องมีลักษณะ คือ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
             ก่อน หน้านี้แม้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะตรวจพบเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น เว็บไซต์เล่นการพนัน เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ เนื่องจากเป็นกระทำความผิดที่อยู่นอกเหนือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอยู่นอกเหนืออำนาจของเจ้าพนักงาน ทำให้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ได้
             ใน ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับล่าสุด มาตรา 20(3) จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สามารถขอหมายศาลให้บล็อคเว็บที่มีเนื้อหาผิดต่อกฎหมายอื่นได้ด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ร้องขอมา เช่น เมื่อตำรวจในท้องที่ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์เล่นการพนัน เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น 
             นอกจากนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีมาตรา 20(4) ที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่แม้เนื้อหาจะไม่ผิด กฎหมายใดเลยก็ได้ ถ้าเห็นว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน โดยมาตรา 20(4) กำหนดให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ มีกรรมการ 5 คน โดยสองในห้าคนต้องเป็นตัวแทนภาคเอกชน หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ปิดกั้นเนื้อหาใดที่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานก็ดำเนินการขออนุมัติจากศาลให้บล็อคเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานั้นๆ ได้ 

             สุดท้ายแล้วที่กล่าวมาแล้ว ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีประเด็นใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น การขยายระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในกรณีจำเป็นจากไม่เกินหนึ่งปีเป็นสองปี การมีเงินเพิ่มพิเศษให้สำหรับเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพตัดต่อไปถึงภาพตัดต่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษฐานส่งสแปมโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิก รวมทั้งการเพิ่มโทษการเจาะระบบหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงของรัฐด้วย